Kings of Thailand

กรรมของประเทศไทย




















รถไฟความเร็วสูง : โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน ดอกเบี้ย 3 ล้านล้าน แบกหนี้ 50 ปี จนรุ่นหลานถึง พ.ศ. 2607 ออก พ.ร.บ.เงินกู้ด้วยวิธีพิเศษ หลีกเลี่ยงการตรวจสอบด้วยวิธีการงบประมาณปกติ ผ่านสภาด้วยวิธีลักหลับ เสียบบัตรแทนกัน







มติเอกฉันท์!! ศาลรัฐธรรมนูญชี้ชัด ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน "ขัดรัฐธรรมนูญ"
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิฉัย ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน มีมติเอกฉันท์ว่าขัดรัฐธรรมนูญ และมติ 6:2 กระบวนการตราไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันนี้ ( 12 มี.ค. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา และลงมติอ่านคำวินิจฉัย ในคำร้องที่ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระ...ทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 และ 170 หรือไม่ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์การดำเนินการการออกร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวฯ นั้นขัดรัฐธรรมนูญ และมีมติ 6 ต่อ 2 เห็นว่า กระบวนการตราไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการ ศาลรธน.เปิดเผยว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเห็นว่า ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ฯ ขัดรัฐรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ร่างพ.ร.บ.ฯดังกล่าวต้องตกไป เนื่องจากเนื้อหาและกระบวนการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังได้รับคำร้องกกต.ไว้พิจารณาแล้ว











พ.ร.บ. เงินกู้ 2ล้านล้าน ชี้ชะตารัฐบาล ....

ดีเดย์ 12 มี.ค. นัดชี้ชะตา พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ว่าจะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 และ 170 หรือไม่

“เงินกู้” ก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ถูกดึงออกไปจากระบบงบประมาณปกติจนยากต่อการตรวจสอบ แถมรายละเอียดแต่ละโครงการยังไม่มีความชัดเจน รายละเอียดเปลี่ยนแปลงไปมา ...

เงินกู้ก็คือเงินภาษีอากรที่เป็นรายรับของรัฐบาล ทันทีที่เงินอยู่ในมือรัฐบาลก็ต้องถือเป็นเงินของแผ่นดิน เพราะมีภาระต่อการชดใช้ในอนาคต ถึงจะกู้มาก็ต้องเป็นภาระภาษี ถ้ารัฐบาลเป็นเจ้าของก็ต้องมีสิทธิเข้าไปตรวจสอบทั้งสิ้น

อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1fjWbK9
See More













































































Oh แม่เจ้า เล่นกันทั้งโครต !!!พบบริษัทลูกชาย“สมชาย-เจ๊แดง”คู่ค้าขายเครื่องมือแพทย์ให้รพ.รัฐ 26.6 ล้าน
คนนี้ไม่ใช่เหรอมีการคุยกันว่า นิสัยไม่เหมือนใครในบ้าน
พบบริษัท“ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์”ลูกชายคนโต“สมชาย-เจ๊แดง”กับพวก คู่ค้างบฯซื้อขายเครื่องช่วยหายใจให้ รพ.-หน่วยงานรัฐ 4 แห่ง 26.6 ล้าน เพิ่งจดทะเบียนก่อตั้งปี 54
บริษัท เรส เอต จำกัด ของ นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ บุตรขายคนโตของนายสมชาย นางเยาวภา วงศ์...สวัสดิ์ และพวก เป็นคู่ค้าขายเครื่องแพทย์ให้โรงพยาบาลและหน่วยงานของรัฐอย่างน้อย 4 แห่ง รวมวงเงินกว่า 26 ล้านบาท
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท เรส เอต จำกัด เพิ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554 ทุน 3 ล้านบาท ประกอบธุรกิจขายเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ ที่ตั้งเลขที่ 68/29 หมู่ที่ 1 ซอยหลักทอง 1 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 มีผู้ถือหุ้น 3 คนคือ นายบุณศักร ศรีทรงชัย 14,400 หุ้น (48%) นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ นางสาวสุรีพร จั่นจำรัส คนละ 7,200 หุ้น (24%) และ นายบุญโชค ศรีทรงชัย 1,200 หุ้น (4%) รวม 30,000 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 100 บาท
จากการตรวจสอบพบว่า นับจากก่อตั้งจนถึงเดือนมีนาคม 2556 บริษัท เรส เอต จำกัด เป็นคู่ค้าในการขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้หน่วยงานของรัฐ 4 แห่ง คือ1.ซื้อขายเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและประเมินสภาพปอด ให้โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วงเงิน 9,350,000 บาท เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2554
2.ซื้อขายเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรพร้อมโปรแกรมฝึกการหย่าเครื่อง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า วงเงิน 3,381,800 บาท เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2556
3.ซื้อขายเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตร พร้อมระบบพ่นยาแบบไมโครปั้ม รุ่น Engstrom Pro ยี่ห้อ GE Healthcar จำนวน 10 เครื่อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี วงเงิน 9,964,000 บาท เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2556
4.ซื้อขายเครื่องช่วยหายใจชนิดเคลื่อนย้ายพร้อมระบบปรับแรงดันตามสภาพปอด ยี่ห้อ GE Healthcare รุ่น iVent101ผลิตภัณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 10 เครื่อง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี วงเงิน 3,968,000 บาท บาท เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2556
รวมวงเงินทั้งสิ้น 26,663,800 บาท
รายละเอียด ... http://www.prasong.com/การเมือง/266/




ภาพล่าสุดจากคนไทยในย่างกุ้ง!! ว่าแล้วเชียว นายกฯ ปู ไปญี่ปุ่น... (บ่อย)ไม่ชวนนักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในไทย แต่นายกฯ ไทยชวนไปลงทุนกันที่พม่า พอเข้าใจแล้วที่นี่ เพราะอะไร?? ไปหามาให้ติดตาม มันมึนหน่อยนะ
คิดว่า โครงการ ทวาย เกี่ยวข้องกับเงินกู้ 2.2 ล้านล้านไหม?
รัฐบาลโต้โผทวายไทยได้อะไร
11 เมษายน 2556 เวลา 09:16 น.
โดย...บากบั่น บุญเลิศ...
ในที่สุดรัฐบาลไทยก็กลายเป็นเจ้าภาพในการลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของเมียนมาร์ และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้เงินก้อนมหึมาไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท แทนที่จะเป็นบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์
เมื่อที่ประชุม ครม.วันที่ 10 เม.ย. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทยเมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง
สาระหลักของมติดังกล่าว คือ เห็นชอบในการเชิญญี่ปุ่นเข้าเป็นหุ้นส่วนการลงทุนในโครงการทวาย ซึ่งจะมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกันจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนประเทศอื่นที่สนใจเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไปด้วย
แต่ที่สำคัญ คือ เห็นชอบกับข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือเอสพีวี ขึ้นในประเทศไทยโดยถือหุ้นเท่ากันระหว่างไทยกับเมียนมาร์ เพื่อเข้าไปรับสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และระดมทุนมาพัฒนาโครงสร้างหลักพื้นฐาน คือ ท่าเรือ ถนน นิคมอุตสาหกรรม ไฟฟ้า น้ำ โทรคมนาคม และระบบราง ฯลฯ
นั่นเท่ากับว่า รัฐบาลไทยกลายเป็นโต้โผหลักในการเป็นคู่สัญญาสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ทวายแทนที่บริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาเดิม
วิธีการที่รัฐบาลทำ คือ เมื่อเข้าไปรับสัมปทานแทนที่เอกชนทำ ก็จะเสนอให้การยกระดับกรอบความตกลงโครงการจากเดิมที่เป็นการร่วมลงนามร่วมกันระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือไอทีดี กับรัฐบาลเมียนมาร์ ให้เป็นข้อตกลงสัมปทานโครงการระหว่างคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและเอสพีวีที่จัดตั้งขึ้นด้วย
เมื่อเปลี่ยนคู่สัญญาเสร็จสรรพ ก็จะให้เอสพีวีเป็นผู้ว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระเพื่อตรวจสอบสถานะการเงินการลงทุนของโครงการต่างๆในส่วนที่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว และให้เอสพีวีเป็นผู้ชำระคืนค่าลงทุนแก่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ด้วย
ชัดเจนไม่ต้องอธิบายว่า เอสพีวีที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาในเมืองไทย คือ ผู้จะเข้าไปรับสิทธิในการพัฒนาทวาย
ส่วนรูปแบบของเอสพีวีที่จัดตั้งขึ้นมานั้นสืบทราบมาว่าจะมีการหารือกันในการจัดตั้งเอสพีวีและจัดทำข้อตกลงต่างๆ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยกับเมียนมาร์ที่จะมีการประชุมกันในปลายเดือนเม.ย.นี้ที่ประเทศเมียนมาร์
เบ็ดเสร็จเรียบร้อย รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะต้องเข้าไปรับภาระในการพัฒนาพื้นที่โครงการขนาดใหญ่ 50 ตารางกิโลเมตร ที่ใช้เงินลงทุนราว 33.5 แสนล้านบาท
หลายคนอาจมองว่า นี่คือการฮุบโครงการทวายจากมือเอกชนของรัฐบาล
แต่หากฟังน้ำเสียงของ สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ ที่กล่าวว่า การจัดตั้งเอสพีวีรัฐบาลไทยและเมียนมาร์เป็นการดำเนินการระหว่างรัฐบาล และขณะนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้ถือสัญญาทวาย วันนี้อิตาเลียนไทยฯ ยังถือสัญญาอยู่
ส่วนในอนาคตเอสพีวีจะมาถือสัญญาแทนอิตาเลียนไทยฯ ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะอิตาเลียนไทยฯ จะได้เงินลงทุนที่ลงไปแล้วทั้งหมด และยังได้ร่วมลงทุนและได้งานใหม่อีก
“เราต้องชอบสิ เงื่อนไขแบบนี้ เพราะยังเป็นผู้พัฒนาโครงการเหมือนเดิม เงินเก่าที่ลงไปแล้วก็ได้คืน แถมได้งานใหม่อีก ใครจะไม่ชอบบ้าง และเราก็ตั้งใจว่า ถ้าให้เป็นแบบนั้นได้จะยิ่งดี ไม่มีใครมาบีบเราเหมือนที่พูดๆ กัน” สมเจตน์ กล่าว
ภาพที่ชัดเจนที่สุดจากคำชี้แจงนี้ คือ เอกชนยินยอมพร้อมใจ
ปัญหาที่ต้องขบคิด คือ อะไรที่ทำให้เอกชนยินยอม
ข้อมูลจากคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทยเมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี) ระบุว่า เมียนมาร์ไม่อยากได้อิตาเลียนไทยฯ พัฒนาโครงการ เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาโครงการไม่คืบหน้า
สอดรับกับคำชี้แจงจาก นิวัฒน์ธำรงบุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ชี้แจงกับโพสต์ทูเดย์ว่า อิตาเลียนไทยฯ จะยังเป็นผู้ลงทุนรายหนึ่งในบริษัทร่วมทุนอื่นๆ แต่อาจจะไม่อยู่ในเอสพีวี เพราะเมียนมาร์เขาอยากจะได้ตัวแทนรัฐบาล คือ องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจของเมียนมาร์ ไทย ญี่ปุ่น และประเทศที่ 4 มาถือหุ้นใหญ่ในเอสพีวีในสัดส่วนเท่าๆ กัน
ส่วนบริษัทร่วมทุนอื่นๆ ที่จะพัฒนาโครงการ อิตาเลียนไทยฯ เลือกได้เลยว่าจะถือหุ้นบริษัทใด
ประการต่อมา ในหนังสือสัญญาสัมปทานระหว่างอิตาเลียนไทยฯ กับเมียนมาร์นั้นมี 2 สัญญา
สัญญาฉบับแรก เป็นสัมปทานการพัฒนาโครงการทวาย อิตาเลียนไทยฯ ที่เซ็นสัญญากับรัฐบาลเมียนมาร์ในปี 2553 ในนั้นระบุชัดว่า เมียนมาร์สามารถที่จะฉีกสัญญาทิ้งได้ตลอดเวลา หากอิตาเลียนไทยฯ ผิดสัญญาหรือไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ตามสัญญา
สัญญาฉบับที่ 2 รัฐบาลเมียนมาร์ได้ลงนามเอ็มโอยูกับอิตาเลียนไทยฯ ในปีที่ผ่านมา โดยกำหนดให้อิตาเลียนไทยฯ จะเป็นผู้ลงทุนรายหนึ่งในทวายแน่นอน
นั่นหมายถึงว่า แม้จะเปลี่ยนผู้ถือสัญญาทวาย อิตาเลียนไทยฯ จะมีสิทธิลงทุนในโครงการลงทุนทั้ง 8 โครงการ ทั้งถนน ท่าเรือ โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม และอื่นๆ แน่นอน
เพราะฉะนั้น อิตาเลียนไทยฯ จึงยินยอม เพราะมีแต่ได้ ไม่มีเสีย
แต่สำหรับรัฐบาล มีคำถามตัวโตว่าการกระโดดไปเป็นผู้เล่นในโครงการนี้เองจะได้ประโยชน์อะไร
นิวัฒน์ธำรง ระบุว่า การที่รัฐบาลไทยจะส่งตัวแทนร่วมทุนในเอสพีวีร่วมกับรัฐบาลเมียนมาร์ ก็เพื่อให้โครงการทวายเกิดและขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะการที่รัฐบาลไทยต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาพื้นที่ทวาย เพราะเป็นประโยชน์กับประเทศในการเชื่อมต่อประเทศผ่านนิคมฯ ทวาย และเป็นทางออกสู่ทะเลด้านตะวันตก
ขณะที่เอกชนจะได้ประโยชน์ เพราะจะมีพื้นที่ขยายการลงทุน
คำชี้แจงดังกล่าวดูเหมือนว่ายังไม่มีน้ำหนักเพียงพอสำหรับภารกิจ “มิชชัน อิมพอสซิเบิล” นี้
อย่าลืมว่า การเป็นโต้โผจัดตั้งเอสพีวีขึ้นมาแล้วบีบบังคับให้รัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ฯลฯ เข้าไปร่วมลงทุนถือหุ้นในเอสพีวีแทนที่รัฐบาลไทย เพื่อพัฒนาพื้นที่ทวายที่ประเทศเมียนมาร์นั้น
ผลประโยชน์ต่อประเทศในเชิงการพัฒนาศักยภาพแตกต่างกับการที่รัฐบาลเป็นโต้โผแล้วดึงเงินจากส่วนต่างๆ มาพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด ในประเทศไทยลิบลับ และเทียบกันไม่ติด
หากรัฐบาลไทยไปเป็นเจ้าภาพการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ครอบคลุมพื้นที่ 4 แสนไร่ ถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไทยเมียนมาร์ รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยเมียนมาร์ วงเงินลงทุนร่วม 4 แสนล้านบาท เท่ากับเป็นการพัฒนาประเทศเมียนมาร์ ไม่ใช่พัฒนาประเทศไทย
นี่คือประเด็นที่รัฐบาลจะต้องชี้แจง
***ที่มาโพสทูเดย์***
คุณคิดว่า โครงการทวาย เกี่ยวข้องกับไฟดับ ที่ 14 จังหวัดภาคใต้ไหม???
"นิวัฒน์ธำรง"เผยญี่ปุ่นสนใจร่วมลงทุนโครงการทวายแน่ แย้ม"ท่าเรือ - นิคมฯ"เป็นแหล่งธุรกิจแห่งใหม่
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ในโอกาสเดินทางเยือนญี่ปุ่นร่วมกับคณะน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า จากการประชุมให้ข้อมูลนักลงทุนบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 300 บริษัท เกี่ยวกับโครงการทวาย ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่่ปุ่นอย่างมาก เชื่อมั่นว่าเขาจะไปร่วมลงทุนเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายให้ยิ่งใหญ่ เหมือนอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยสิ่งที่ญี่ปุ่นสนใจหลักๆมี 2 เรื่อง คือ ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวอีกว่า ความน่าสนใจ คือ จากที่เราได้จัดหาพื้นที่ใหญ่ๆ ทำท่าเรือ และพื้นที่ทำนิคมฯหาได้ยาก ถือเป็นแหล่งธุรกิจแหล่งใหม่ นอกจากท่าเรือและนิคมฯแล้วก็มีการพูดถึงเรื่องเมือง การพัฒนาเมือง ซึ่งตรงนั้นมีหาดทรายยาวที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้อีกด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาของพม่าเท่านั้น ถือเป็นการขยายธุรกิจของไทยไปอีกระดับหนึ่ง นอกจากนี้ทางรัฐบาลพม่าก็ได้ออกกฎหมายใหม่เพื่อส่งเสริมการลงทุน
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวต่อว่า นอกจากการประชุมกับ 300 บริษัทแล้ว ก็มีการประชุมกับซีอีโอบริษัทใหญ่ๆอีกครั้ง และนายกฯก็ได้คุยกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยนายอาเบะ จะไปพบประธานาธิบดีพม่า ก็คงจะดำเนินการกันต่อไป ซึ่งในการดำเนินการ ระดับบนก็มีการวางนโยบาย ซึ่งเราคาดว่ามี 4 ประเทศ ส่วนในระดับล่างก็เป็นภาคเอกชนหมด มีกลุ่มภาคเอกชนทั่วไปไม่ใช่แค่ 3 - 4 ประเทศ เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ทั้งนี้จากที่มาคุย ทุกคนมั่นใจและบอกว่าต้องการไปลงทุน ตนเชื่อมั่นว่าเขาคงไปแน่นอน แม้ระบบของญี่ปุ่นในบางทีอาจจะตัดสินใจช้าไปบ้าง
ส่วนรื่องของแหล่งพลังงานทางประเทศไทยจะเป็นหัวหอก โดยกระทรวงพลังงานได้ยื่นข้อเสนอให้กับคณะกรรมการฝ่ายพม่าไปแล้ว ที่จะไปสร้างโรงงานไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินบริสุทธิ์ ขนาดใหญ่ 3,000 เมกะวัตต์ ซึ่งถ้าเหลือใช้แล้วก็สามารถที่จะขายมายังประเทศไทยเพราะเราเองก็ขาดไฟฟ้า ขาดการระบบสำรอง เพราะเวลาเกิดเหตุไฟก็ดับ ซึ่งจะปล่อยให้เป็นเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งโครงการทวายก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เราจะหาแหล่งไฟฟ้าเพิ่มเติม
-------------------------------------------
ลืมหรือยัง!! คดีปรส.ใกล้หมดอายุความ 21 มิ.ย.ชาติเสียหาย 8แสนล้าน
เรื่องเงินๆทอง ๆ ที่รัฐบาลนำมาบริหารประเทศ ต้องจับตาตรวจสอบกันอย่างใกล้ชิด เพราะจำนวนเงินมหาศาล จะมีการแบ่งสรรเงินกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดถึง ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล โดยอ้างว่าทำเพื่อประชาชน และคนไทยจะได้ประโยชน์มากที่สุด
ขณะเดียวกัน ทางด้านฝ่ายค้านก็เตรียมถล่ม ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่มีความชัดเจน เกรงว่าจะเป็นการง่ายต่อการโยกย้ายงบประมาณจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีการสอดไส้โครงการก่อสร้างถนนสายย่อยเพื่อการเกษตรและการท่องเที่ยว โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีความเห็นว่า เงินกู้ 2 ล้านล้าน จะไปล้มล้างพ.ร.บ.หนี้สาธารณะ ที่ออกในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และจะเป็นการแบกหนี้ไว้ถึง 50 ปี
งบประมาณมหาศาลกว่า 2ล้านล้าน สิ่งที่สำคัญก็คือ ความโปร่งใส ในการจัดสรรเงิน ไม่ให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณประเทศชาติ จนกลายเป็นวงจรอุบาศว์วนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป จนภาพลักษณ์นักการเมืองถูกมองเป็นอาชีพที่มีการทุจริต คดโกง
เมื่อกล่าวถึงบทเรียนในเรื่องความเสียหายสาธารณะ ประเด็นที่น่าสนใจในขณะนี้ก็คือ คดี ปรส.ไม่ได้ ที่ประเทศชาติเสียหายกว่า 8 แสนล้าน และกำลังจะหมดอายุความ วันที่ 21 มิถุนายนที่จะถึงนี้ โดยคดีดังกล่าวเกิดขึ้นสมัยปี 2540 ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ซึ่งเป็นสำนวนคดี การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส.เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท อีกทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้เอกชน และหลบเลี่ยงภาษี คดีหมายเลขดำที่ อ.3344/2551
แต่เดิมนั้น ปรส.ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ และตั้งปรส.ขึ้นมา เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ทั้งหลาย ที่ถูกแช่แข็งอยู่ออกมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ อย่างรวดเร็วที่สุดและโปร่งใสที่สุด โดยสินทรัพย์ดีจะได้ขายได้ในราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) อีกทั้งช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต โดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วน 87.54% และเพื่อชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้
แต่ในทางปฏิบัติ สมัย นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปปัตย์มาบริหารประเทศนั้น มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า กระทำขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ ไม่ได้มีการแยกสินทรัพย์ดี และเสีย ( Good Bank –Bad Bank ) ทำรัฐเสียหายกว่า 8แสนล้าน เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ
มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 5 คดี ผลของการกระทำดังกล่าวทำให้ การประมูลทรัพย์ ได้ราคาที่ต่ำมาก ซึ่งดีเอสไอสรุปสำนวนคดี ปรส. ชี้การกระทำดังกล่าวว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมายใน10ประเด็น ดังนี้
1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สิน จากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขาย ทรัพย์สิน
7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ
10.ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน กับสถาบันการเงินอีกแห่ง
คดีนี้ ล่าช้ามากว่าสิบปี และกำลังจะหลุดลอยนวลไปในอีกไม่ช้า หากคนไทยลืมง่าย 8 แสนล้านก็คงไม่มีผลใดๆอีกต่อไป นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งต้องรอทางปปช.ว่า จะชี้แจงเรื่องนี้ว่าอย่างไ
Mthai News
--------------------------------------------
ปรส. นั้นย่อมาจาก องค์การเพื่อการปฎิรูประบบ
สถาบันการเงิน ถูกตั้งขึ้นมาพร้อมกับ บบส.
เมื่อประมาณปี 2540 เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาขอ
สถาบันการเงินที่ถูกปิดไป 58 แห่ง ก่อให้เกิดปัญหาเรื่อง
สภาพคล่องแก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการเงินที่ถูกปิด
เพราะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง อาทิ ผู้ที่ฝากเงิน
ผู้ที่กู้เงิน และอื่นๆ ที่สำคัญกระทบความเชื่อมั่นต่อระบบ
การเงินของประเทศ จากการปิดสถาบันการเงิน 58 แห่ง
ทำให้สินทรัพย์ทั้งหลายถูกแช่แข็งอยู่ ไม่ได้ออกมา
หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ และสภาพคล่อง จะเห็นได้
ว่าโดยหลักการแล้วตั้ง ปรส. ขึ้นมานั้นเพื่อปลดล็อก ซึ่ง
โดยหลักการแล้วน่าจะดี แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับไม่ได้
ทำง่นอย่างอิสระ (ถูกการเมืองแทรกแซง) ขอโทษที่ต้อง
เอ่ยนาม พรรคปชป. นี่แหละที่แทรกแซงจนทำให้ ปรส.
นั้นกลายเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า ปล้นรอบสอง
ถามว่าทำยังไงจาก 8 แสนล้าน จึงเหลือ 2 แสนล้าน
ต้องกลับมาดูที่วิธีการครับ โดยหลักการแล้ว ปรส. จะเขา
มาจัดการกับสินทรัพย์โดยควรจะแยกสินทรัพย์ที่ดี และ
เลวออกจากกัน เพื่อที่สินทรัพย์ดี (รวมถึงลูกหนี้ชั้นดี)
ออกจากสินทรัพย์เลว เพื่อที่สินทรัพย์ดีจะได้ขายได้ในราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) ซึ่ง บบส. จะมามีบทบาท
ตรงนี้คือจะเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมประมูล แข่งขัน เพื่อให้
ปรส. ขายได้ในราคาที่ดี นั่นคือหลักการที่ควรจะเป็น
ในทางปฏิบัติ กลับรวมสินทรัพย์ที่ดีและไม่ดีเข้าด้วยกัน
แล้วแบ่งเป็นหลายๆก้อน (ตรงนี้ก็มีประเด็น คือ แบ่งเป็น
ก้อน ควรจะแบ่งเป็นก้อนเล็กๆ พอประมาณ เพื่อที่สถาบัน
การเงินอื่นที่ส่วนใหญ่อ่อนแออยู่ หรือผู้ที่สนใจจะได้ร่วม
ประมูลได้) ปรส. กลับแบ่งเป็นก้อนใหญ่มาก ผู้ที่จะประมูล
ได้นั้นแน่นอนต่างชาติ แบบไร้คู่แข่ง แม้กระทั่ง บบส. ก็
แข่งลำบาก ผลก็คือจากราคา 100 บาท ต่างชาติประมูล
ได้ในราคาประมาณ 18 ถึง 20 กว่าบาทเท่านั้น เห็นภาพ
รึยังครับ ถึงแม้จะมีการสอบสวนอย่างไรก็เอาผิด ปรส.
ไม่ได้ เขาทำถูกกฏหมาย แต่ผิดที่วิธีการ ก็เท่านั้น
ก็เล่นขายให้ฝรั่งแค่ 20% ของราคาทุน มันก็ต้องได้เท่านั้นแหละ ไม่ขายก้ออ้างไอเอ็มเอฟบังคับ
แต่เชื่อปะคนเป็นหนี้เดิมกับ ปรส ไปขอซื้อหนี้ ปรส ไม่ขายจะขายให้แต่ฝรั่งถูกๆ สุดท้ายลูกหนี้รายนั้นก็ต้องไปซื้อหนี้คืนจากฝรั่งโดยให้ฝรั่งมันกำไรไป เงินออกนอกประเทศเป็นหมื่นๆแสนๆล้าน มากกว่าไอ้เงินที่จะไปซื้อบอลลิเวอร์พูลหลายสิบเท่า เจ็บสุดคือ
1.ฝรั่งร่วมมือกับผู้มีอำนาจไปเอาเงินลูกหนี้ที่ต้องการซื้อหนี้คืนในราคา 50 %มาจ่ายค่าประมูลจากปรส.ในราคา 20%กำไรไม่ต้องลงทุน
2.ลูกหนี้รายย่อยต้องโดนบังคับหนี้เต็มอย่างเคร่งครัด ขณะที่รายใหญ่มีการช่วยเหลือผ่อนผันกัน
แต่ถามว่าใครคือผู้ที่ทำให้เกิดต้นยำกู้ง ปี 2540 นั่นละตัวต้นเหตุของเรื่อง
ทักษิณ นั่นเอง แล้วคนที่ได้สินทรัพย์ราคาถูกก็กลุ่มทักษิณนั่นแหละ
See More


ข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
ข้อมูลการจัดเก็บรายได้ของประเทศ แบ่งแยกตามภาคส่วน มีภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคอีสานและ กรุงเทพมหานคร โดยรายได้ส่วนใหญ่คือเกือบจะทั้งหมดการจัดเก็บมาจาก ภาษีของประชาชน ข้อมูลของปี 2553 - 2555 ข้อมูลพวกนี้บอกอะไรเราบ้าง
1. จำนวนประชากร แบ่งตามภาค ปี 2557(ข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล)
กรุงเทพมหานคร 7.9 ล้านคน
ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพฯ) 18.1 ล้านคน
ภาคเหนือ 11.3 ล้านคน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) 18.6 ล้านคน
ภาคใต้ 8.7 ล้านคน
2. กรุงเทพมหานคร จังหวัดเดียว เป็นจังหวัดที่ ประชาชนเสียภาษีมากที่สุด โดยมากกว่า ภาคเหนือทั้งภาค มากกว่าภาคกลางทั้งภาค มากกว่าภาคอีสานทั้งภาค และ มากกว่า ภาคใต้ทั้งภาค และที่น่าสนใจคือ
กรุงเทพมหานครจังหวัดเดียว ประชาชนเสียภาษีมากกว่า ทุกภาคของประเทศรวมกัน คือประชาชนของทุกภาคเสียภาษีรวมกันน้อยกว่า กรุงเทพมหานครจังหวัดเดียว
ประชากรของกรุงเทพมหานครจังหวัดเดียว 7.9 ล้านคนมีจำนวนน้อยที่สุด แต่เสียภาษีมากกว่าทุกภาคในประเทศไทยรวมกัน (ตรงนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า มีคนจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ด้วย)
3. ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) เป็นภาคที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ถึง 18.6 ล้านคน แต่เสียภาษีน้อยที่สุด
4. ภาค ใต้ มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในทุกภาค(ไม่นับรวมกรุงเทพฯ) แต่เสียภาษีมากกว่า ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน
5. ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน(ฐานเสียงเพื่อไทย ทักษิณ เสื้อแดง) มีประชากรรวมทั้งหมด ประมาณ30ล้าน หรือ ครึ่งนึงของทั้งประเทศ แต่เสียภาษีรวมกันแค่ 3เปอร์เซนต์ ของภาษีที่เก็บได้ทั้งประเทศ
อ่านไม่ผิดหรอกครับ 3เปอร์เซนต์ เท่านั้น ทั้งๆที่จำนวนประชากรรวมกัน ครึ่งนึงหรือ 50เปอร์เซนต์ ของประเทศ
อีกครั้งนะครับ
ภาคเหนือและอีสาน เสียภาษีแค่ 3% ของทั้งประเทศ ทั้งที่จำนวนประชากรมี 50% ของประเทศ
จากข้อมูล ผมจะสรุปแบบนี้ได้ไหมครับ
1. คนส่วนใหญ่ที่เลือกเพื่อไทย เลือกทักษิณ ที่เป็นเสื้อแดง ไม่เสียภาษี หรือ เสียภาษีน้อยมากๆ
2. คนส่วนใหญ่ที่เลือกเพื่อไทย เลือกทักษิณ ที่เป็นเสื้อแดง เอาภาษีจากคนภาคอื่นที่ไม่ได้เลือกเพื่อไทย ไม่ได้เลือกทักษิณ และไม่ได้เป็นเสื้อแดง มาทำประชานิยมให้เค้าเหล่านั้น ทั้งๆที่ตัวเอง ไม่เสียภาษี
3. คนเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งที่เลือกทักษิณ ที่เป็นเสื้อแดง ไม่เสียภาษี แต่เพราะมีจำนวนมาก ทำให้กำหนดได้ว่า พรรคไหนจะเป็นรัฐบาล เพื่อมาบริหารเงินของ คนเสียงข้างน้อยจากการเลือกตั้งที่เค้าเสียภาษี
4. คนที่ไม่เสียภาษีเหล่านั้น เรียกร้องให้แบ่งแยกดินแดง จะตั้งประเทศล้านนา สปป.ล้านนาขึ้นมาใหม่ คิดดีแล้วเหรอครับ จะเอาเงินไหนบริหารประเทศครับ
5. คนที่ไม่เสียภาษีเหล่านั้น ยอมที่จะได้เงินเพียงเศษประชานิยม ไปเลือกทักษิณ โดยที่ไม่รู้เลยว่า รัฐบาลโกงเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเท่าไหร่(เช่น จำนำข้าว) และสุดท้าย ประชานิยมนั้นก็ยังทำไม่ได้จริง 6เดือนยังไม่ได้เงิน ทำลายระบบการค้าข้าวของไทยที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานจนสิ้น
ปล. ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริง มิได้ต้องการที่จะแบ่งแยกหรือ ดูถูกใครทั้งนั้นทั้งสิ้น ย้ำว่าเป็นข้อมูลข้อเท็จจริงและ ต้องเข้าใจด้วยว่า คนต่างจังหวัดก็เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เยอะมาก เพราะเป็นเมืองหลวง ทำให้ กรุงเทพฯ เก็บภาษีได้เยอะที่สุด
และจากข้อมูลเหล่านี้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย ควรมีการปฎิรูปโดยด่วนครับ เพราะมองเห็นได้เลยว่า ประชาชนเสพติดประชานิยม และ ประชานิยมเหล่านั้นกำลังทำให้รากฐาน นิสัย คนไทยเปลี่ยนแปลง แทนที่จะขยันทำมาหากิน ช่วยตัวเอง ทำงาน หาเงิน ก็จะกลายเป็นแบมือขอประชานิยม เพียงเพื่อให้ได้เศษเงินเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาล โดยรู้หรือไม่รู้เลยว่า เงินส่วนใหญ่ถูกโกงกินไปเท่าไหร่แล้ว และทำลายรากฐาน จริยธรรม สิ่งดีงาม ในประเทศไทยไปสิ้น











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Pong 11 (20x24)

Pong 11 (20x24)
Original handpainted oil painting on canvas

Wanna Yookong 111 (97x197cm)

Wanna Yookong 111 (97x197cm)
Original handpainted oil painting, Realistic Style

Kitja Noree 102 (24x36)

Kitja Noree 102 (24x36)
Original handpainted oil painting, Impressionist Style, Floating Market

Thawan Pramarn

Thawan Pramarn
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY TAWAN PRAMAN, SIZE 70 x 90 cm

Chalor Ditpinyo

Chalor Ditpinyo
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY CHALOR DITPINYO, SIZE 90 x 120 cm.

Thongchai Arunsaengsilp

Thongchai Arunsaengsilp
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY THONGCHAI ARUNSAENGSILP

Boonchai Methangkul

Boonchai Methangkul
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY BOONCHAI METHANGKUL, SIZE 1 x 126 cm

Chavana Boonchoo

Chavana Boonchoo
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY CHAVANA BOONCHOO, SIZE 18 x 24"

Patamares Livisit

Patamares Livisit
ORIGINAL HANDPAINTED IMPRESSIONIST OIL PAINTING BY PATAMARES LIVISIT, SIZE 24 x 36"

Bangkok Art Center by HAS