Kings of Thailand

" ประชาธิปไตย" ล้มเหลวเพราะ เลือกตั้งโดยไม่ถ่วงดุลอำนาจ "สุทธิชัย หยุ่น"




บทความนี้ของคุณสุทธิชัย หยุ่นและดิอิโคโนมิสท์ วิเคราะห์ถูกต้องตรงเหตุการณ์ครับ
" ประชาธิปไตย" ล้มเหลวเพราะ เลือกตั้งโดยไม่ถ่วงดุลอำนาจ
เรื่องขึ้นปกของ The Economist นิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังของอังกฤษเล่มล่าสุด สร้างความฮือฮาไม่น้อย
ในหมู่นักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ... และในมวลหมู่นักประชาธิปไตยของไทย โดยเฉพาะผู้เรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูปประเทศไทย” อย่างจริงจัง
ประเด็นที่เขาขึ้นพาดหัว คือ “ประชาธิปไตย” ของโลกมีปัญหาอะไรหรือ จึงเกิดความขัดแย้งกันมากมายในหลายประเทศ และจะมีวิธีการใดที่จะทำให้ระบอบการปกครองที่อดีต นายกฯ อังกฤษวินสตัน เชอร์ชิล เคยนิยามว่าเป็น “ระบอบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด” กลับฟื้นขึ้นมาตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
บทวิเคราะห์ยาว 6 หน้า ย้อนไปพูดถึงที่มาของระบอบการปกครองที่เรียกว่า democracy ซึ่งเพิ่งจะได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ถึงวันนี้ประมาณกันว่าประเทศที่เลือกใช้ระบอบนี้มีประชากรรวมกันประมาณ 40% ของโลก
แต่ในระยะหลัง เหตุการณ์ในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา สะท้อนถึงปัญหาของประชาธิปไตย
อีกทั้งมีการชี้ให้เห็นว่า จีน ไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยตะวันตก พรรคคอมมิวนิสต์จีนควบคุมทุกกลไกของประเทศ เปลี่ยนผู้นำระดับสูงทุก 10 ปี คัดเลือกคนเก่งตามผลงาน ทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้าพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ความล้มเหลวในระบอบการเลือกตั้ง ปรากฏให้เห็นในหลายประเทศ เช่น ที่รัสเซีย โดยที่ บอริส เยลต์ซิน เป็นผู้นำคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ต่อมา วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ตำแหน่งทั้ง นายกฯ และ ประธานาธิบดี แม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง ปูติน ก็ใช้วิธีการควบคุมกลไกการเมืองอย่างเข้มข้น แทรกแซงสื่อ จับคู่แข่งทางการเมืองคุมขังและกำกับดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด ใครคัดค้านหรือต่อต้านต้องเจอกับการคุกคามกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง
ตัวอย่างความล้มเหลวของระบอบ “ประชาธิปไตย” ต่อมาก็เกิดที่ อิรัก อียิปต์ ซีเรีย ลิเบีย แอฟริกาใต้ ตุรกี ตอกย้ำว่าระบอบที่อ้างการเลือกตั้งเป็นหลักนั้น ก็ยังหลุดเข้าไปสู่ระบบเผด็จการและคอร์รัปชัน และปกครองผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มผู้มีอำนาจอย่างน่ากลัว
บทวิเคราะห์นี้อ้างถึงเหตุการณ์ในไทย บังกลาเทศ และ กัมพูชา ที่ฝ่ายค้านและประชาชนจำนวนไม่น้อยออกมาประท้วงกลางถนน คัดค้านการเลือกตั้งภายใต้กติกาเก่าที่ผู้กุมอำนาจได้เปรียบตลอดกาล หรือเลือกตั้งแล้วก็ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เพราะความฉ้อฉลของผู้มีอำนาจ
เขาวิเคราะห์ว่าปัญหาที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยล้มเหลวในหลายๆ ประเทศ ก็เพราะ...
พรรคการเมืองต้องการจะชนะเลือกตั้งอย่างเดียว จึงเสนอนโยบายเฉพาะหน้า เอาใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่คำนึงถึงภาระปัญหาการเงินการคลังที่ตามมาจากนโยบาย “ประชานิยมสุดขั้ว”
อีกทั้งประชาชนวันนี้ ก็เน้นแต่ประโยชน์เฉพาะรุ่นของตนเอง มากกว่าที่จะสนใจว่าจะสร้างอะไรให้กับคนรุ่นต่อไป
เขาเสนอว่า การจะรักษาประชาธิปไตยในความหมายที่ให้ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เสมอภาค และ สันติ นั้น จะต้องตระหนักว่า
1. ต้องไม่ยึดติดว่าประชาธิปไตย หมายถึง การเลือกตั้งอย่างเดียว อีกทั้งต้องไม่อาศัยเสียงข้างมากในสภาเพื่อแก้ไขกฎกติกาต่างๆ ให้ผู้มีอำนาจได้เปรียบคนอื่น อย่างไม่เป็นธรรม
คำว่า “majoritarianism” มีความหมายว่ากลุ่มการเมืองที่มีเสียงส่วนใหญ่ผ่านการเลือกตั้ง มักจะอ้าง “อาณัติจากประชาชน” กระทำการต่างๆ เพื่อผ่านกฎหมายหรือเปลี่ยนกติกาให้ตนได้ประโยชน์โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านและความเห็นต่างจากคนที่อยู่เสียงข้างน้อย นำไปสู่การกล่าวหาว่ามีการใช้ “เผด็จการรัฐสภา” มาปกครองประเทศจนผิดเพี้ยนไปจากหลักคิดประชาธิปไตยที่แท้จริง
2. ต้องมีกลไกถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาลที่เข้มแข็งและยั่งยืน หรือที่เรียกว่า checks and balances ที่ไม่ให้ผู้มีอำนาจกุมชะตากรรมคนทั้งประเทศ โดยไม่มีใครสามารถมาถ่วงดุลได้
3. คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในการแสดงความคิดเห็น การรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมต่างๆ
4. มีกติกาป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันของภาครัฐ อย่างเข้มข้นและคึกคัก
5. ตีกรอบไม่ให้พรรคการเมืองเสนอผลประโยชน์ระยะสั้น ที่เกินความสามารถและขอบเขตของประเทศ และไม่ให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงกิจกรรมเศรษฐกิจมากเกินไป
คนไทย อ่านบทวิเคราะห์นี้แล้ว เห็นภาพชัดเจนแจ่มแจ๋วเลยว่า เราจะต้องทำอะไรอย่างจริงจัง เพื่อให้ประเทศนี้ปกครองโดย “ระบอบประชาธิปไตย” ในความหมายที่แท้จริง เหมือนทีมงานวิเคราะห์ความล้มเหลวระบอบประชาธิปไตย ของ The Economist มานั่งอยู่แถวๆ กรุงเทพฯ ...ทีเดียว
จากคอลัมน์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์...โดยกาแฟดำ (สุทธิชัย หยุ่น) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 12มี.ค.2557


แก้กฎหมายลุยล้างทุจริต


แก้กฎหมายลุยล้างทุจริต....
“การปฏิรูปประเทศไทย” วาทกรรมนี้กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในสังคมไทย เพราะหลายฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรได้รับการปฏิรูปอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้ผ่านการปฏิรูปมาแล้ว 2 ครั้ง จนมีรัฐธรรมนูญ....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1cxdbSi





“นักวิชาการ”เห็นพ้อง ปฏิรูประบบตรวจสอบ !!!!!
เดลินิวส์ออนไลน์

“นักวิชาการ”เห็นพ้อง ปฏิรูประบบตรวจสอบ- ให้อำนาจภาคปชช. แก้ปัญหาทุจริต
...
เมื่อวันที่ 12มี.ค. ที่อาคารศูนย์เยาวชนสวนลุมพินี คณะกรรมการประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.) ได้จัดเวทีระดมความคิดเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่2 เรื่อง “ปฏิรูประบบตรวจสอบ ปลูกสำนึกคนไทย ขจัดภัยคอร์รัปชัน” โดยมีนพ.พลเดช ปิ่นประทีป เป็นประธาน

กระทั่งเวลา 10.00 น. นายสุเทพเทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. การเปิดการเสวนาว่า การปฏิรูปประเทศในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นนั้นถือเป็นภารกิจสำคัญอย่างยิ่ง ปัญหาดังกล่าวในประเทศมันระบาดอย่างรวดเร็ว รุนแรงจนเป็นที่หวั่นวิตกจะทำให้ประเทศเสียหายย่อยยับ และประชาชนในประเทศต่างก็เรียกร้องให้ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังเพราะทุกครั้งที่ตนไปเดินรณรงค์บนถนน ประชาชนที่ออกมาจับมือและมอบเงินสนับสนุนการชุมนุมทุกคนต่างฝากความหวังว่าให้เราจัดการเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางแก้ไขซึ่งการเสวนาครั้งนี้สำคัญขอให้เราตั้งความหวังว่าจะสามารถขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นให้ได้ผลแท้จริงเพื่อให้หลังจากที่มีรัฐบาลประชาชนเข้ามา ก็จะสามารถทำงานได้ทันทีและหากสามารถยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ด้วยก็จะยิ่งดี

หลังจากนั้น นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาการทุจริตเกิดจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยเป็นการทุจริตไม่ใหญ่มาก เป็นการหาค่าคอมมิชชั่นจากสิ่งที่รัฐมีอยู่ แต่เมื่อระบอบทักษิณเข้ามาก็เกิดการทุจริตเชิงนโยบายขึ้นโดยมีการแฝงอยู่ในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์รวมทั้งรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ

โดยมี 3 ตัวละคร คือ นักการเมือง ข้าราชการและพ่อค้านักธุรกิจ ซึ่งหากตัวละครหนึ่งในสามตัวไม่เห็นด้วยการทุจริตเชิงนโยบายจะเกิดขึ้นไม่ได้โดยวิธีการทุจริตเชิงนโยบายนั้นจะชอบฝืนความเป็นจริง อาทิ กรณีโครงการรับจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการน้ำ3.5 แสนล้าน รวมทั้งการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท

“ ประชาชนจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ เพื่อที่จะตั้งข้อสังเกตกับนโยบายที่ผิดปรกติได้เพราะบางนโยบายอาจเป็นการเปิดช่องหากินของกลุ่มธุรกิจการเมืองทำให้ประเทศเสียโอกาสในหลายๆด้าน และที่สำคัญต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชั่นดังนั้นหน่วยงานส่งเสริมตรวจสอบนักการเมืองต้องมีให้มาก รวมถึงระบบตรวจสอบ ที่ต้องมีองค์กรใหม่ๆขึ้นมาทำหน้าที่ โดยต้องมีบทลงโทษจริงจัง และมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วขึ้น ”นายเจิมศักดิ์ กล่าว

ส่วน นายรัตพงษ์ สอนสุภาพ รองคณะบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า วิธีบริหารจัดการปัญหาภายใต้บริบทการเมืองเศรษฐกิจปัจจุบันนั้นเงื่อนไขเวลาขณะนี้ดีที่สุด ที่จะเบรกการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้การแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่นของไทยที่ผ่านมานั้น ไปเน้นที่การปราบปรามมากเกินไปแต่หน่วยงานป้องกันไม่มีโอกาสได้ดี

นอกจากนั้นกฎหมายและองค์กรทำหน้าที่ปราบปรามทุจริตนั้นควรมีความสามารถแก้ปัญหา และต้องมีเพียงพอนอกจากนั้นควรคิดนอกกรอบในการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องไม่ควรทำงานเหมือนราชการควรเพิ่มประสิทธิภาพ และที่สำคัญควรเพิ่มอำนาจประชาสังคมในการตรวจสอบการทุจริตมากขึ้นโดยการเข้าถึงข้อมูลโครงการต่างๆ มากขึ้น และต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้คนในสังคม

ด้าน นายคมสัน โพธิคง ตัวแทนจากกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น ต้องดูว่าปัญหาทุจริตอยู่ในทุกอณูของสังคมไทยซึ่งกลายเป็นต้นตอของการสร้างนิสัยให้คนไทยมองว่าปัญหานี้เล็กน้อย จนกลายเป็นเรื่องปรกติธรรมดาแต่ปัญหาใหญ่คือโครงสร้างทางการเมือง

เพราะการทุจริตคอร์รัปชั่นมีรากฐานจากระบบการเมืองเพราะการเมืองไทยเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นขนาดใหญ่ผูกพันกับการเมืองทุกระดับ รวมทั้งนโยบายทางการเมือง โดยมีการคอร์รัปชั่นโดยระบบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนที่ต้องมีการตอบแทน

โดยอาศัยหลักการว่าผ่านนิติบัญญัติต้องเป็นเสียงข้างมาก และมีการเสนอกฎหมายหรือมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประโยชน์สำหรับกลุ่มทุนทางการเมือง และการที่ระบบตรวจสอบขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานการลงโทษมีความล่าช้า ทำให้ไม่เกิดการเกรงกลัว ส่งผลให้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นรุนแรงขึ้นและจะสอดคล้องกับนิสัยคนไทยที่มองการทุจริตเป็นเรื่องเล็กน้อยทำให้ความคิดที่จะมองว่าเป็นปัญหาร้ายแรง และต้องเข้าไปแก้ปัญหาจึงไม่มีในสังคมไทย

นายคมสัน กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นต้องอาศัยมาตรการหลัก5 มาตรการ คือ 1.สร้างมาตรการในการลดโอกาสที่จะทุจริตโดยอาจจะเพิ่มการร่ำรวยผิดปรกติในความผิดทางอาญาด้วยและควรเพิ่มโทษคนที่สมคบการทุจริต

ต้องตรา พ.ร.บ.เพื่อลดอำนาจในการยกเลิกระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและรัฐมนตรีต้องห้ามเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเรื่องจริยธรรมควรออกเป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามโดยปรับโครงสร้างองค์กรปราบปรามทุจริต ที่ต้องแยกจากภาคบริหารและเพิ่มอำนาจการสอบสวนขององค์กรเหล่านี้

และอัยการสูงสุดควรห้ามรับตำแหน่งกรรมการในหน่วยงานของรัฐเพราะเป็นต้นเหตุให้องค์กรปราบปรามการทุจริตทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และควรมีการตั้งองค์กรตรวจสอบงบประมาณเพื่อไม่ให้มีการตั้งงบเพื่อการทุจริต3.มาตรการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนโดยประชาชนสามารถฟ้องคดีเกี่ยวกับการทุจริตได้ ภาคประชาชนมีอำนาจตรวจสอบการทุจริตร่วมกับองค์กร4.การบริหารภาครัฐโปร่งใสขึ้น โดนต้องรื้อกฎหมายข้อมูลข่าวสารใหม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบมากขึ้น และ 5.มาตรการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น

ส่วนนายภิญโญ ทองชัย อดีตเลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า การปราบปรามทุจริตนั้นไม่ต้องคิดว่าจะเอาคนที่ทำผิดมาลงโทษแต่ให้คิดว่าจะลดช่องทาง และตัดต้นตอดารทุจริตได้อย่างไร โดยตนขอเสนอให้มีการกระจายอำนาจและงบประมาณไปสู่ท้องถิ่นซึ่งจะทำให้เงินที่จะทุจริตน้อยลง จูงใจกลุ่มทุนทางการเมืองน้อยลง

นอกจากนั้นควรปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมต่อเรื่องการทุจริตและเพิ่มอำนาจให้ภาคประชาชนในการตรวจสอบ และที่สำคัญคือการสร้างมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพเช่น การสร้างมาตรการโปร่งใสของเจ้าหน้าที่รัฐ ห้ามบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่างๆรวมทั้งการจัดตั้งศาลพิเศษ ที่ดูแลเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะ นอกจากนั้นก็ควรแก้ไขประมวลวิธีพิจารณาความทางอาญาเพื่อให้การพิจารณาเร็วขึ้น และเพิ่มโทษ คดีไม่มีหมดอายุความ และการพิจารณาคดีในศาลควรมีการพิจารณาต่อเนื่องแม้จำเลยจะหลบหนีและควรเพิ่มโทษฐานสมคบคิดด้วย

นายมานะ นิมิตมงคล ผู้อำนวยการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทยกล่าวว่า วันนี้เราต้องมาคุยกันอีกครั้งหนึ่งต้องนำเสนอสิ่งที่เราปฏิบัติได้และเกิดขึ้นจริง โดยต้องเสนอในสิ่งที่ไม่มาก และต้องรีบทำซึ่งในช่วงนี้ระหว่างนักการเมืองที่ยังไม่เข้าสู่อำนาจเป็นเวลาที่ดี ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่ามีหลายเรื่องแต่เราจะคัดเลือกเรื่องและมาตรการที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นของสังคมด้วยโดยเราจะเสนอเป็นเมนูให้สามารถเลือกปฏิบัติได้เลย โดยมี 5 แนวทาง 23ข้อปฏิบัติคือ

1.เรียกร้องให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติ UNCAC 2003 ซึ่งมีการบังคับให้ประเทศสมาชิกมีมาตรการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญานี้ โดยกระทรวงยุติธรรมได้ร่างกฎหมาย 3ฉบับแต่ไม่ผ่านการพิจารณาของสภา

2.ให้เอาผิดกับคนผิดสินบนเพราะบางเรื่องหากนักธุรกิจไม่ติดสินบนปัญหาก็ไม่เกิด ดังนั้นต้องลงโทษคนที่ติดสินด้วย

3.สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐกำหนดให้คดีคอร์รัปชั่นเป็นคดีที่ประชาชนสามารถเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีได้

4.ผลักดันมาตรการเรื่องความโปร่งใสโดยปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 สร้างความโปร่งใสทางงบประมาณโดยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ และ

5.รณรงค์คุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านคอร์รัปชั่นครั้งใหญ่โดยรัฐต้องเป็นผู้สร้างวัฒนะธรรมต่อต้านคอร์รัปชั่น ระบบการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานรัฐต้องยึดหลักคุณธรรม

“ มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการหลักสากลที่ทั่วโลกพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ดังนั้นประเทศไทยก็ต้องทำได้ ไม่มีคำว่ายากเกินไป นักการเมืองหรือข้าราชการต้องไม่พูดว่าทำไม่ได้ ”นายมานะ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนักวิชาการได้นำเสนอกรอบแนวคิดแล้วได้มีการเปิดเวทีซักถาม และระดมความคิดโดยประชาชนที่เข้าร่วมการเสวนาหลังจากนั้นจึงมีการปิดกิจกรรมในช่วงเช้าไปในเวลา 12.45 น.ก่อนจะเปิดเวทีอภิปรายกรอบแนวคิด“ปฏิรูประบบตรวจสอบ ปลูกสำนึกคนไทยขจัดภัยคอร์รัปชัน” ในเวลา13.30 น. เพื่อหาข้อสรุปที่จะไปปรับเป็นข้อเสนอในการปฏิรูปต่อไป.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Pong 11 (20x24)

Pong 11 (20x24)
Original handpainted oil painting on canvas

Wanna Yookong 111 (97x197cm)

Wanna Yookong 111 (97x197cm)
Original handpainted oil painting, Realistic Style

Kitja Noree 102 (24x36)

Kitja Noree 102 (24x36)
Original handpainted oil painting, Impressionist Style, Floating Market

Thawan Pramarn

Thawan Pramarn
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY TAWAN PRAMAN, SIZE 70 x 90 cm

Chalor Ditpinyo

Chalor Ditpinyo
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY CHALOR DITPINYO, SIZE 90 x 120 cm.

Thongchai Arunsaengsilp

Thongchai Arunsaengsilp
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY THONGCHAI ARUNSAENGSILP

Boonchai Methangkul

Boonchai Methangkul
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY BOONCHAI METHANGKUL, SIZE 1 x 126 cm

Chavana Boonchoo

Chavana Boonchoo
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY CHAVANA BOONCHOO, SIZE 18 x 24"

Patamares Livisit

Patamares Livisit
ORIGINAL HANDPAINTED IMPRESSIONIST OIL PAINTING BY PATAMARES LIVISIT, SIZE 24 x 36"

Bangkok Art Center by HAS