


กรรมกำลังไล่ล่าคนเลว นอกจากโดนชี้มูลความผิดต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการถอดถอนและถูกตัดสิทธิทางการเมือง5ปี จากนั้นปปชก็ต้องเรื่องไปดำเนินคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้ากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบปฏิรูปและเร่งรัดเช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญและปปชจะรีบลงโทษคนทำผิดกฏหมายแล้ว ปัญหาบ้านเมืองจะคลี่คลายลง คนชั่วคนเลวก็จะไม่กล้าทำผิดต่อไปเพราะรับโทษทัณท์ทันตาเห็นครับ......สมชาย แสวงการ



น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ๒๐ตค.๕๗ ปปช.กำหนดชี้มูลนายนิคม ไวยรัชพานิช ในข้อกล่าวหาที่สส.พรรคปชป.ยื่นให้ปปช.ตั้งแต่๒ตค.๕๖ ขอให้ถอดถอนเพราะมีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดย
๑.ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.๖๘และม.๒๓๗ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.๑๙๐ ทั้งที่ดำรงตำแหน่งปธ. วุฒิสภา... สุ่มเสี่ยงต่อการขัดกันแห่งผลประโยชน์ด้วยเนื้อหาสาระที่เสนอแก้ไข
๒.เมื่อ๒๐สค.๕๖ วันประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาสว. ในวาระ๒ นายนิคมได้ทำหน้าที่ปธ.ในที่ประชุม ได้จัดให้มีการลงมติเพื่อวินิจฉัยตัดสิทธิสมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติจำนวน๕๗คน โดยอ้างว่าคำแปรญัตติของสมาชิกขัดต่อหลักการ โดยมิได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายก่อน ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ.๒๕๕๓ข้อ๙๙ และในม.๑๓๐ของรัฐธรรมนูญ
๓.เมื่อ๔กย.๕๖ ระหว่างการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในร่างม.๕ นายนิคมซึ่งทำหน้าที่ปธ.ในที่ประชุม จงใจปิดการอภิปรายโดยรวบรัดให้มีการลงมติ
๔.วันที่๖กย.,วันที่๙กย.,วันที่๑๐และ๑๑กย.ในการประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว นายนิคมได้ใช้วิธีการและพฤติการณ์อย่างเดียวกัน คือยอมให้มีผู้เสนอปิดอภิปรายและลงมติปิดอภิปรายเพื่อผ่านร่างม.๘,ม.๑๐,ม.๑๑,ม.๑๑/๑และม.๑๒โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของสมาชิก
๕.ผู้ถูกกล่าวหาได้ลงชื่อร่วมเป็นผู้เสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก๒ฉบับคือฉบับม.๖๘และฉบับม.๑๙๐ และแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสว.โดยยกเลิกสว.สรรหา ให้เปลี่ยนเป็นเลือกตั้งทั้งหมด จึงไม่มีความเป็นกลาง ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
๖.หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญประสบความสำเร็จ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้สิทธิกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสว.ได้อีก จึงเป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับ... จากการทำหน้าที่ปธ.ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาดังกล่าว... อันขัดต่อบทบัญญัติม.๑๒๒ ของรัฐธรรมนูญ
๑.ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.๖๘และม.๒๓๗ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.๑๙๐ ทั้งที่ดำรงตำแหน่งปธ. วุฒิสภา... สุ่มเสี่ยงต่อการขัดกันแห่งผลประโยชน์ด้วยเนื้อหาสาระที่เสนอแก้ไข
๒.เมื่อ๒๐สค.๕๖ วันประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาสว. ในวาระ๒ นายนิคมได้ทำหน้าที่ปธ.ในที่ประชุม ได้จัดให้มีการลงมติเพื่อวินิจฉัยตัดสิทธิสมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติจำนวน๕๗คน โดยอ้างว่าคำแปรญัตติของสมาชิกขัดต่อหลักการ โดยมิได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายก่อน ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ.๒๕๕๓ข้อ๙๙ และในม.๑๓๐ของรัฐธรรมนูญ
๓.เมื่อ๔กย.๕๖ ระหว่างการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในร่างม.๕ นายนิคมซึ่งทำหน้าที่ปธ.ในที่ประชุม จงใจปิดการอภิปรายโดยรวบรัดให้มีการลงมติ
๔.วันที่๖กย.,วันที่๙กย.,วันที่๑๐และ๑๑กย.ในการประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว นายนิคมได้ใช้วิธีการและพฤติการณ์อย่างเดียวกัน คือยอมให้มีผู้เสนอปิดอภิปรายและลงมติปิดอภิปรายเพื่อผ่านร่างม.๘,ม.๑๐,ม.๑๑,ม.๑๑/๑และม.๑๒โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของสมาชิก
๕.ผู้ถูกกล่าวหาได้ลงชื่อร่วมเป็นผู้เสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก๒ฉบับคือฉบับม.๖๘และฉบับม.๑๙๐ และแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสว.โดยยกเลิกสว.สรรหา ให้เปลี่ยนเป็นเลือกตั้งทั้งหมด จึงไม่มีความเป็นกลาง ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
๖.หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญประสบความสำเร็จ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้สิทธิกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสว.ได้อีก จึงเป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับ... จากการทำหน้าที่ปธ.ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาดังกล่าว... อันขัดต่อบทบัญญัติม.๑๒๒ ของรัฐธรรมนูญ
รอการวินิจฉัยอีกไม่กี่ชั่วโมงก็คงทราบผล... และคงเป็นสิ่งที่กปปส. คปท.และมวลมหาปชช.รอคอยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น